สาขาวิชาสัตวศาสตร์ โครงการอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้สาหร่ายหางกระรอกและรำข้าวสาลีหมักยีสต์ในอาหารเป็ด

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ณ อาคารปฏิบัติการสัตวบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ช่วยศาสตราจารย์โสภณ บุญล้ำ หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะวิจัย ดำเนินโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้สาหร่ายหางกระรอกและรำข้าวสาลีหมักยีสต์ในอาหารเป็ด วัตถุประสงค์ในการจัดโครงได้ เพื่อถ่ายทอดผลการวิจัยและทักษะต่าง ๆ สู่เกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรเลี้ยงเป็ดในพื้นที่ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน ให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยในการถ่ายทอดผลการวิจัยในรูปแบบของการบริการวิชาการสู่ชุมชนท้องถิ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ บุญล้ำ กล่าวว่า การจัดโครงการอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้สาหร่ายหางกระรอกและรำข้าวสาลีหมักยีสต์ในอาหารเป็ดครั้งนี้ กิจกรรมประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฎีประกอบด้วยเนื้อหา อาหารและการให้อาหารเป็ด ประโยชน์และความสำคัญของสาหร่ายหางกระรอกและรำข้าวสาลีหมักยีสต์และในภาคปฏิบัติฝึกการผลิตรำข้าวสาลีหมักยีสต์และการผสมอาหารเป็ดด้วยสาหร่ายหางกระรอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร โตใจ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีพันธะกิจที่สำคัญยิ่งนั่นคือ การวิจัยและการบริการวิชาการซึ่งเป็นหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยที่จะนำองค์ความรู้จากผลการวิจัยมาถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ ดังปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวยังได้มอบพันธุ์เป็ดและอาหารเป็ดตามโครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี ครอบครัวละ 5 ตัว โดยได้รับเกียติจาก ดร.วัฒนา รัตนพรหม รองอธิการฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานมอบ

ด้านนายจะรวย เพชรทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เข้าร่วมโครงการ เผยว่า การอบรมในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้ตนและตัวแทนชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงเป็ด และการผลิตอาหารเป็น ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนของอาหาร อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้เสริมนอกจากการทำสวนยากพารา ที่ราคาค่อนข้างต่ำ

เรียบเรียง : ธีรวัฒน์ กิจงาม